หน้าหลัก
ITA
LPA
ประกาศจากระบบ e-GP
ประกาศจากระบบ e-GP ในเครือข่าย
เทศบาลตำบล บำเหน็จณรงค์ ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ
ข้อมูลหน่วยงาน
ข้อมูลหน่วยงาน
บุคลากร
บุคลากร
การบริหาร
บุคคล
การบริหาร
บุคคล
ข่าวสาร
ข่าวสาร
แผน
แผน
รายงาน
รายงาน
ระเบียบ
ระเบียบ
บริการ
ประชาชน
บริการ
ประชาชน
 
 
 
  นายวัชระ บำรุงสงฆ์  
  นายกเทศมนตรีตำบลบำเหน็จณรงค์  
  ข่าวสารเทศบาล
 
   
 
 

 
สรุปย่อ คำพิพากษาฎีกาใหม่ที่ 1639/2565  
 

สรุปย่อ คำพิพากษาฎีกาใหม่ที่ 1639/2565

ผู้ให้อาหารสุนัขจรจัดเป็นประจำ แล้วสุนัขไปกัดคนอื่น   ผู้ให้อาหารสุนัขจรจัดเป็นประจำ มีความผิดตามประมวลกฎกฎหมายอาญา และ  ผู้ให้อาหารสุนัขจรจัดเป็นประจำนั้น  ต้องชดใช้ความเสียหายในทางแพ่งด้วย

คดีนี้ จำเลยไม่ได้เลี้ยงดูสุนัขจรจัด ที่ก่อเหตุโดยตรง แต่ได้ให้อาหารสุนัขจรจัด ดังกล่าว มาตลอดเป็นเวลานาน  จำเลยไม่ได้เลี้ยงดูสุนัขจรจัด โดยการขัง  หรือ โดยการล่ามโซ่ไว้ ต่อมาในวันเกิดเหตุ เด็กอายุเพียง 2 ปี 11 เดือน ได้ถูกสุนัขจรจัด ตัวนี้ กัดหลายแห่ง และ ถึงแก่ความตายในเวลาต่อมา

แม่ของเด็ก ผู้ตายเลยแจ้งความ  ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน  ให้ดำเนินคดีกับจำเลย ในความผิดฐานปล่อยปละละเลยให้สัตว์นั้น ก่อให้เกิดอันตรายแก่กายของผู้อื่น ตาม ปอ.ม.377 และ  ความผิดฐานกระทำโดยประมาท  เป็นเหตุให้ผู้อื่น  ถึงแก่ความตายตาม ปอ.ม.291 ประกอบ ม.59 วรรคสี่

คดีขึ้นสู่ศาล พนักงานอัยการโจทก์  ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 และมาตรา 377 ศาลชั้นต้น พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 และ มาตรา 377 จำเลยยื่นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ  เป็นยกฟ้องโจทก์ ต่อมาพนักงานอัยการ ยื่นฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า  การที่จำเลย ให้อาหารสุนัขจรจัด  มาหลายปี เท่ากับว่า  จำเลยเป็นเจ้าของสุนัชนั้น  โดยการเลี้ยงดูแล้ว เมื่อสุนัขไปกัดเด็ก ถึงแก่ความตาย  เท่ากับว่า จำเลยประมาทตาม ปอ.ม.59 วรรคสี่ และ การกระทำนั้น เป็นเหตุให้ผู้อื่น ถึงแก่ความตาย  จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 ถือว่า ผู้เลี้ยงอาหารสุนัขจรจัดเป็นประจำ ปล่อยปละละเลย ให้สัตว์นั้น เที่ยวไปโดยลำพัง  จนเกิดอันตรายแก่บุคคลอื่น จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 377 นอกจากนี้ เมื่อจำเลย ปล่อยปละละเลย  จนสัตว์นั้น  ได้ไปกัดผู้อื่นถึงแก่ความตายเช่นนี้ จึงถือว่า ความเสียหายเกิดขึ้น  เพราะสุนัขจรจัดดังกล่าว จำเลย ซึ่งเป็นบุคคล ผู้ให้อาหารสุนัขจรจัดนั้น  จะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน ให้แก่ฝ่ายเด็กที่ถึงแก่ความตาย  เพราะสัตว์นั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 433 วรรคหนึ่ง ด้วย

ซึ่งค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้สถานใด เพียงใดนั้น  ศาลวินิจฉัย ตามควรแก่พฤติการณ์  และ ความร้ายแรงแห่งละเมิดตามมาตรา 438 วรรคหนึ่ง ซึ่งเมื่อคดีนี้ แม่เด็กซึ่งเป็นผู้มีอำนาจจัดการแทนเด็ก ตาม ป.วิ อ.มาตรา 5 (2) ได้ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ กับ พนักงานอัยการ ก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา ตามป.วิ อ.มาตรา 3 (2) ประกอบมาตรา 30 และ ได้ยื่นคำร้องชอให้บังคับจำเลย ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตาม ป.วิ อ.มาตรา 44/1 วรรคหนึ่ง เป็นค่าปลงศพ จำนวน 300,000 บาท และ ค่าขาดไร้อุปการะเป็นเงินจำนวน 300,000 บาท

เมื่อคดีนี้ เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ซึ่งศาลในคดีส่วนแพ่ง จำต้องถือข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคดีส่วนอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ มาตรา 46 เมื่อฟังได้ว่า  จำเลยกระทำความผิดในคดีส่วนอาญา อันเป็นการกระทำละเมิด  ในคดีส่วนแพ่ง ศาลฎีกา จึงกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้แก่ฝ่ายแม่เด็ก  เป็นค่าปลงศพ จำนวน 300,000 บาท และ ค่าขาดไร้อุปการะเป็นเงินจำนวน 300,000 บาท ส่วนอัตราดอกเบี้ย  ให้เป็นไปตามกฎหมายใหม่ ตาม ปพพ.มาตรา 224 ประกอบมาตรา 7

สรุปย่อคำพิพากษาฎีกา ด้วยภาษาชาวบ้านง่ายๆ โดย
อ.มงคล กริชติทายาวุธ

ท่านที่พบผู้ที่ให้อาหารสุนัขจรจัดเป็นประจำ ในบริเวณที่ท่านอยู่อาศัย หรือ ต้องผ่านบริเวณนั้นๆ  อย่าลืมถ่ายภาพผู้นั้นไว้ล่วงหน้า ถ้าวันใด สุนัขจรจัดกัดท่าน หรือ ญาติมิตรของท่าน จักไปแจ้งความดำเนินคดี เรียกร้องความเสียหาย ได้ถูกคนว่า เป็นใคร มีรูปร่างหน้าตาเป็นเข่นไร ใช้รถทะเบียนอะไร ในการนำอาหารไปเลี้ยงสุนัขจรจัด ในบริเวณนั้นๆ

 

ข่าว ณ. วันที่ 18 ต.ค. 2566 เวลา 08.47 น. โดย phattharawadee

ผู้เข้าชม 1015 ท่าน

 
 
 
 
คู่มือประชาชน
 
ระเบียบ แบบฟอร์ม
เพื่ออำนวยความสะดวก
แก่ประชาชนในการ
ติดต่อราชการ
 
Link ที่น่าสนใจ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
รับเรื่องร้องเรียน
โทร : 044-127-220